การตลาดออนไลน์คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจของคุณ
เรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์และความสำคัญต่อธุรกิจของคุณ เพื่อให้คุณสามารถใช้กลยุทธ์นี้ในการเพิ่มยอดขายและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจในยุคดิจิทัล
เคยไหมเวลาที่เรามีสินค้าที่อยาก สั่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กับโรงพิมพ์แต่ไม่รู้ว่าจะต้องพิมพ์แบบไหนหรือการพิมพ์แบบไหนที่เหมาะกับสินค้าของเรา ซึ่งการพิมพ์มีอยู่หลายประเภทโดยแต่ละแบบก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของรูปแบบสินค้านั้นๆ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับประเภทของการพิมพ์ว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทนั้นเหมาะสมกับสินค้าแบบไหน
1. การพิมพ์ออฟเซ็ท (OFFSET PRINTING)
เรียกอีกอย่างว่าการพิมพ์พื้นราบ จะใช้แม่พิมพ์ที่เรียบเสมอกันทั้งแผ่น โดยใช้หลักการที่เอาน้ำกับน้ำมันแยกออกจากกัน จะทำให้สร้างเยื่อน้ำไปเกาะอยู่บนบริเวณที่ไม่มีภาพของแผ่นแม่พิมพ์ เมื่อรับหมึกแล้ว หมึกก็จะไม่เกาะติดกับน้ำแต่จะไปเกาะบริเวณที่เป็นภาพแทนแล้วจะถูกถ่ายเทลงบนผ้ายางหรือกระดาษพิมพ์ต่อไป การพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นการพิมพ์ที่สามารถผลิตงานคุณภาพสูงได้ดี เหมาะกับ แผ่นพับ ใบปลิว หนังสือ วารสาร นิตยสาร การ์ด
2. การพิมพ์เลตเตอร์เพรส (LETTERPRESS PRINTING)
การพิมพ์พื้นนูน ใช้กับพื้นผิวนูน ซึ่งตัวแม่พิมพ์ทำจากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์ที่หนาเป็นพิเศษ ทำให้สกัดผิวของภาพให้ออกมาดูนูน และใช้วัสดุกดทับลงไปที่แม่พิมพ์ วิธีนี้ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ยุคก่อน ซึ่งจะนำตัวอักษรมาเรียงเป็นประโยค แล้วใช้เป็นตัวต้นแบบ ปัจจุบันการพิมพ์แบบนี้ก็ใช้มาจนถึงตอนนี้ เหมาะกับ นามบัตร ฉลาก กล่อง ป้าย
3. การพิมพ์ซิลค์สกรีน (SILKSCREEN PRINTING)
การพิมพ์แบบพื้นฉลุ ใช้หลักการพิมพ์โดยให้หมึกซึมทะลุผ่านผ้าเฉพาะบริเวณที่เป็นภาพที่ขึงเอาไว้ จะทำให้บริเวณที่เป็นภาพสามารถเพิ่มสีได้ และยังได้ความละเอียดของภาพเพิ่มขึ้น สามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้หลายชนิดทั้ง ผ้า พลาสติก ไม้ เหมาะกับบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ป้าย กระดาษ พลาสสติก โลหะ เสื้อผ้า ขวด จานชาม
4. การพิมพ์ดิจิตอล (DIGITAL PRINTING)
เป็นการพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถสั่งพิมพ์ได้โดยตรงจากเครื่องปริ้นเตอร์ หรือใช้เครื่องอิงค์เจ็ท เครื่องพิมพ์เลเซอร์ การพิมพ์ประเภทนี้สามารถใช้งานได้สะดวกเป็นระบบไฟฟ้า จึงทำให้นิยมอย่างมาก เหมาะกับ แผ่นพับ ใบปลิว หนังสือ
5. การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (FLEXOGRAPHY)
เป็นการพิมพ์พื้นผิวนูนที่ใช้แผ่นพอลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นเป็นแม่พิมพ์ จะคล้ายๆ กับการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรส เพียงแต่หมึกที่ใช้จะเหลวกว่าและใช้ลูกกลิ้งแทน เหมาะกับ กล่องกระดาษแข็ง ฉลากต่างๆ ป้าย ถุง และซองพลาสติก
6. การพิมพ์กราเวียร์ (GRAVURE)
การพิมพ์พื้นผิวในแนวลึกที่ใช้แม่พิมพ์แบบเป็นร่องลึก การพิมพ์แบบนี้จะทำได้ยากและต้องใช้เวลา แต่ผลงานที่ออกมาจะมีคุณภาพที่สูงกว่างานพิมพ์อื่นๆ ส่วนใหญ่จะพบเห็นจาก ถุงพลาสติก ใส่สิ่งของ
ทำความรู้จักกันไปแล้วกับการพิมพ์ในแต่ละประเภท ต่อไปเวลาที่สั่งงานท่านก็สามารถแยกได้แล้วว่าวัสดุแต่ละชนิด เหมาะสมกับการพิมพ์ไหน เราก็จะสามารถสั่งได้แบบมืออาชีพไม่ต้องเก้ๆ กังๆ อีกต่อไป